เปลี่ยนนิสัยแก้อาการ ท้องผูก

Last updated: 26 ก.ย. 2562  |  3825 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เปลี่ยนนิสัยแก้อาการ ท้องผูก

คนที่ท้องผูกนั้นจะต้องมีการถ่ายอุจจาระน้อยผิดปกติ คือประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น และอุจจาระนั้นจะเป็นก้อนแข็งขึ้น หรือเป็นก้อนที่เล็กลง โดยทั่วไปแล้วเราจะพบผู้หญิงมีอาการท้องผูกมากกว่าผู้ชาย

เราต้องเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ดังนี้

1. ทานอาหารที่มีไฟเบอร์ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ลูกพรุน ข้าวโพด แอปเปิล ฝรั่ง มะละกอ เป็นต้น เพื่อจะช่วยเพิ่มเส้นใยการขับถ่าย โดยอาหารที่มีกากมากจะต้านทานการย่อยของน้ำย่อยที่จะไปดูดน้ำภายในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายอุจจาระได้รวดเร็ว

 

2. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และทำงานได้ดีขึ้น เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น ก็จะไปส่งผลให้ลำไส้ขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทำให้อาหารส่งผ่านไปได้สะดวก หากนั่งนิ่งอยู่เฉย ๆ ลำไส้ไม่ได้เคลื่อนไหว กากอาหารเหล่านั้นก็จะยิ่งแข็งค้างอยู่ในลำไส้ ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ทั้งนี้ หากไม่มีเวลามาก แนะนำให้เดินออกกำลังกายสัก 20-30 นาทีก็พอจะช่วยให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวแล้ว

 

3. หากรู้สึกปวดอุจจาระให้เข้าห้องน้ำทันที อย่ากลั้นไว้ เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเพิ่มอาการท้องผูก

 

4. ฝึกเข้าห้องน้ำขับถ่ายทุกเช้าให้เป็นกิจวัตร โดยควรนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที ไม่ควรเร่งรีบเกินไป

 

5. ดื่มน้ำให้มาก ๆ เราคงเคยได้ยินคนแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องอื่น ๆ แล้ว การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกด้วย เพราะน้ำจะไปช่วยให้กากอาหารอ่อนตัวลงได้

 

6. งดดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารที่ทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลง แต่จะไปกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ส่งผลให้อาการท้องผูกตามมา

           7. ขณะนั่งอยู่บนโถส้วม ให้ใช้ฝ่ามือนวดหน้าท้อง โดยวนตามเข็มนาฬิกาหลาย ๆ รอบ แขม่วท้องไว้

8. ส้วมนั่งยองจะช่วยทำให้ขับถ่ายได้ง่ายกว่าส้วมชักโครก เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอยู่ในลักษณะตรง ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายและไม่มีอุจจาระเหลือค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ แต่หากที่บ้านมีแต่ส้วมชักโครก แนะนำให้นั่งโค้งตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้น หรืออาจหากล่องมาวางเท้า จะได้ยกเข่าให้สูงขึ้น

 

     ปกติแล้วท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมาก แต่หากใครมีอาการท้องผูกนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์นะคะ เผื่อเป็นอาการแทรกซ้อนจากโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้

 

                                                                                                                                   ขอขอบคุณข้อมูลจาก Kapook

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้